เมนู

เพราะบุคคลย่อมทำความเพียรเพื่อความไม่เกิด แห่งอกุศลธรรมอันลามก
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
ด้วยจิตดวงหนึ่ง และเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวง
หนึ่ง เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง แต่ในขณะ
แห่งมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรคอันเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอรรถว่ายังกิจ 4 อย่างให้สำเร็จ.
แม้นิเทศแห่งสัมมาสติก็จักมีแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท
ในสติปัฏฐานวิภังค์. อนึ่ง สัมมาสติแม้นี้ก็ย่อมได้ให้จิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น
จริงอยู่ บุคคลย่อมกำหนดกายเป็นอารมณ์ด้วยดวงหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนา
เป็นต้น ด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น
เพราะสติที่สัมปยุตด้วยมรรคดวงเดียวเท่านั้น ย่อมได้ชื่อ 4 อย่าง ด้วยอรรถว่า
ให้สำเร็จกิจ 4 อย่าง.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ

(บาลีข้อ 170)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป
ฌาน 4 มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ใน
ส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจ
แห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบ
ด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ 2 เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน
หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคล
คนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรค
เป็นต้น ก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่า

ประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง 4 ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน
บ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบ้างอย่าง ด้วยอำนาจฌาณ.
ส่วนความแปลกของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดัง
ต่อไป ว่าด้วยนิยาม (การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคล
ผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วย
ปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ ย่อมเป็นธรรม
บริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่
มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี 7 องค์
เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วย
ตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี 7 โพชฌงค์ 6. นับตั้งแต่
จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและ
ปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ. ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ
ถามว่า ในอธิการนี้เป็นอย่างไร ตอบว่า ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจาก
ณานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูป-
สมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค 3 (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌาน
นั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั้นเอง
ย่อมกำหนดมรรค.
แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของ
วิปัสสนาย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด
บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบ
วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนา
บทภาชนีย์ว่าด้วยโลกรุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า
เอกกัคคตา (สมาธิจิต ) ในฌาน 4 เหล่านั้น เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็น
โลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระ


บรรดามรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระเหล่านั้น ในโลกิยมรรค องค์-
มรรคทั้งหมด ย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ 6 ตามสมควร
แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ (จักษุคือปัญญา) มีนิพพานเป็นอารมณ์ อัน
ถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัย ของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ 4 เป็น
สัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง การยกจิตขึ้นสู่แนวทางพระนิพพานซึ่งสัมปยุตด้วยสัมมา-
ทิฏฐินั้นแล้วถอนเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ 3 อย่าง ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
เป็น สัมมาสังกัปปะ. อนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาวาจา ที่สัมปยุต
ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นแหละ ถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต 4 อย่าง ของบุคคลผู้เห็นอยู่
และตรึกอยู่ เป็น สัมมาวาจา. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นกายทุจริต 3 อย่าง
ที่สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นแหละตัดขาดมิจฉากัมมันตะ ของบุคคลผู้งดเว้นอยู่
เป็น สัมมากัมมันตะ. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาอาชีวะ ที่เป็นธรรมชาติ
ผ่องแผ้วของสัมมาวาจาและกัมมันตะ. เหล่านั้นนั่นเอง เป็นธรรมสัมปยุตด้วย
สัมมาวาจาและกัมมันตะนั้น ๆ แหละตัดขาดอกุศลมีการหลอกลวงเป็นต้น เป็น
สัมมาอาชีวะ. อนึ่ง วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ของบุคคลผู้ตั้งมั่น
ในภูมิศีล กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี้สมควรแก่